เรามาทำความรู้จักโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุกันนะคะ
สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตามเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ประโยชน์รอบด้าน เช่นร่างกาย ฝึกสมอง
และด้านอารมณ์
1 ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมกับควบคุมน้ำหนัก
การทานอาหารครบ 5 หมู่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานมากขึ้น และการควบคุมน้ำหนัก อย่างเช่น การลดของกินที่ทำให้อ้วนและออกกำลังกายควบคู่กัน จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
2 กินผักให้มาก กินผลไม้ให้เป็นประจำ
ผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินและมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย รวมถึงใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยสร้างภูมิต้านทาน และรักษาโรคได้ ส่วนการรับประทานพืชผักส่วนใหญ่ควรทานด้วยการทำให้สุกก่อน เพราะความร้อนจะทำให้ผักย่อยง่ายและช่วยให้ลำไส้ดูดซึมได้ดีขึ้น
3 เน้นกินเนื้อปลา ไข่และถั่วให้มาก
อาหารประเภทโปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและร่างกายต้องการมาก ๆ เพราะเป็นการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ซึกหรอ ช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกาย นอกจากนี้เนื้อปลายังเป็นสารอาหารที่มีโอเมก้าชนิดต่าง ๆ และกระดูกปลาที่มีแคลเซียมสูง เป็นอาหารบำรุงชั้นดีสำหรับผู้สูงวัย
4 ดื่มนมเยอะ ๆ
การดื่มนมเยอะ ๆ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นไขมันไม่ดี เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น อาหารที่ผัดด้วยน้ำมันมาก ๆ เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งยังทำให้อ้วนง่าย เนื่องจากวัยสูงอายุมีระบบการเผาผลาญที่ต่ำลง การเลือกทานอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
6 เลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด
การทานอาหารหวานๆ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ไขมันสะสมในร่างกายสูง โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวานควรจะหลีกเลี่ยง การทานเค็มจัด เสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะ โรคหัวใจ หรือไตวายได้
7 ลดและงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทั้ง เหล้า เบียร์ ไวน์ สาโท ข้าวหมาก เป็นต้น เพราะแอลกอฮอล์ทุกชนิดมีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง อีกทั้งยังทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้น้อยลง อาจทำให้หิวตลอดเวลาจนเกิดโรคอ้วนได้ และเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากภาวะภูมิต้านทานลดลง
8 กินอาหารที่สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
สารที่ปนเปื้อนทั้งในอาหารและภาชนะใส่อาหาร ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมและเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นหากคุณรับประทานอาหารควรใส่ใจตั้งแต่เรื่องของอาหารที่ทานรวมไปถึงภาชนะที่ใช้ก็ด้วยเช่นกัน
แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ
การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน
พลังงาน(กิโลแคลอรี) ต่อวัน
พลังงานที่ใช้ | 1,400 | 1,600 | 1,800 |
กลุ่มอาหาร | ชาย-หญิง(กิจกรรมเบามาก) | ชาย-หญิง(กิจกรรมเบา) | ชาย-หญิง(กิจกรรมปานกลาง) |
ข้าวแป้ง (ทัพพี) | 5 | 7 | 9 |
ผัก (ทัพพี) | 4 | 4 | 4 |
ผลไม้ (ส่วน) | 1 | 1 | 2 |
เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว) | 6 | 7 | 8 |
ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว) | 1 | 1 | 1 |
นม (แก้ว) | 2 | 2 | 2 |
น้ำ (แก้ว) | 8 | 8 | 8 |
ไขมัน (ช้อนชา) | 6 | 6 | 6 |
น้ำตาล (ช้อนชา) | 6 | 6 | 6 |
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก gj.mahidol.ac.th และ bioformthailand.com
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ไอเฮลท์ เนอร์ส แคร์
เราให้บริการรับดูแล ผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการพักฟื้นแบบระยะสั้น ระยะยาว
ทางเรารับดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้
ติดเตียง อัมพฤกษ์ อัมพาต
อัลไซเมอร์ และผู้สูงอายุที่ต้องให้อาหารทางสายยาง
ควบคุมการดำเนินงานโดยทีมพยาบาลวิชาชีพ
และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
ในการดูแลผู้สูงอายุ ตลอด 24 ชม.
ศูนย์เราตั้งอยู่บริเวณ #ใกล้โรมแรมคิงปาร์คศรีนครินทร์ #ใกล้ซีคอนสแควร์ศรีนครินทร์ #พาราไดซ์ศรีนครินทร์ #ใกล้สวนหลวงร.9
iHealth Nurse Care บริการด้วยใจ อบอุ่นเหมือนคนในครอบครัว ❤️