เมื่อทำงานด้วยความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรตลอดมา อยากให้ลองวาดภาพของตนเองหลังเกษียณจากการงานดูบ้าง ทุกคนล้วนใฝ่ฝันที่จะใช้ชีวิตสบาย ๆ  มีเงินพอใช้จ่าย มีสุขภาพดี และมีเวลาว่างสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นความสุขของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอยู่บ้านกับลูกหลาน ดูแลสัตว์เลี้ยง ทำสวน ทำงานอดิเรกที่ชอบ เดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน พบปะสังสรรค์กับเพื่อนเก่า หรือทำงานช่วยเหลือสังคมตามที่กำลังและโอกาสเอื้ออำนวย​​

ก่อนวัยเกษียณท่านต้องวางแผนอย่างไรบ้าง เพื่อให้มีความสุข ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ การเงิน มีการวางแผนค่าใช้จ่าย ด้านอาหารและความเป็นอยู่ที่พักอาศัย การดูแลร่างกาย หรือคนดูแลในยามที่ไม่สบาย ท่านควรมี 4 ถุงขุมทรัพย์แบ่งไว้ตั้งแต่ท่านเริ่มทำงาน เมื่อถึงวัยเกษียณท่านจะได้นำมาใช้จ่ายแบบคล่องตัว และสบายใจ ไม่รู้สึกเป็นภาระของลูกหลานแถมยัง รู้สึกดีที่ตัวท่านเองมีการวางแผนไว้แล้วนะคะ

วางแผนวัยเกษียณอย่างไรให้มีความสุข👵🏻👨🏻‍🦳

มาดูวิธีการวางแผนเกษียณดีๆ จาก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยกันบ้างนะคะ

คุณอยากใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างไร ?​

ความเชื่อ VS ข้อเท็จจริง​

การใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข จำเป็นต้องมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสร้างความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ โดย 
ไม่เป็นภาระของลูกหลาน 

น่าเสียดายที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณเป็นเรื่องของคนอายุมาก ใกล้เกษียณ  ทั้งที่จริงแล้ว การเกษียณสุขต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าในระยะยาวตั้งแต่เริ่มต้นทำงานเลยทีเดียว  การวางแผนเมื่อใกล้เกษียณ นอกจาก
จะลำบากและต้องกดดันตัวเองมากกว่าการเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้ว ยังอาจไม่ทันการณ์อีกด้วย 

ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าคุณตั้งใจที่จะออมเงินให้ครบ 1 ล้านบาทสำหรับไว้ใช้หลังเกษียณ  และสมมติว่าอัตราผลตอบแทนจาก
เงินออมและเงินลงทุนเฉลี่ยเท่ากับ 5% ต่อปี (เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์)

ถ้าคุณเริ่มออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 31 ปี  คุณออมเพียงปีละ 15,000 บาท (หรือเดือนละ 1,250 บาท) คุณจะมีเงินครบ
1 ล้านบาทเมื่ออายุ 60 ปี โดยเป็นเงินออม 450,000 บาท และที่เหลืออีกประมาณ 600,000 บาท เป็นการทำงานของดอกเบี้ย

แต่ถ้าคุณเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี  คุณต้องออมถึงปีละ 75,000 บาท (หรือเดือนละ 6,300 บาท)  เพื่อให้มีเงินครบ 1 ล้านบาท
เมื่อเกษียณ โดยเป็นการทำงานของดอกเบี้ยเพียง 240,000 บาทเท่านั้น​

FCC_Retise_img6.png
Screen Shot 2557-01-27 at 4.41.26 PM.png

4 รู้…สู่การเกษียณสุข​

การวางแผนสู่การเกษียณอย่างมีความสุข เริ่มต้นจากประเมินสถานการณ์หลังเกษียณของตนเอง ดังนี้​

01 รู้รายรับต่อเดือน แหล่งที่มา และความมั่นคงของรายรับ  เช่น​​

ข้าราชการ จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ และเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ​

พนักงานบริษัทเอกชนจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม

เงินออมที่ได้เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตการทำงาน  บวกกับผลประโยชน์จากการนำเงินไปลงทุน ​

02 รู้รายจ่ายต่อเดือน เทียบกับรายรับที่คาดว่าจะได้รับ

ส่วนใหญ่แล้ว ค่าใช้จ่ายประจำหลังเกษียณมักจะลดลง ซึ่งประเมินกันว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะประมาณ 70% – 80% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนก่อนเกษียณ เช่น หากก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะประมาณ 21,000 – 24,000 บาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมเงินเฟ้อ และค่ารักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นตามวัย 

ดังนั้น การเริ่มต้นบันทึกรายรับ-รายจ่ายเสียตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ในปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายรายการใดจะลดลงหรือหมดไป เมื่อเกษียณแล้ว​

03​ รู้หลักประกันความมั่นคงทางการเงิน

เช่น สวัสดิการที่เบิกได้ และความคุ้มครองของประกันสุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันจะไม่กระทบกับจำนวนเงินที่จำเป็นสำหรับใช้จ่ายประจำ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ครอบคลุมเพียงพอ ควรพิจารณาออมหรือซื้อประกันเพิ่มเติม​

04 รู้ปัจจัยที่อาจมีผลต่อรายรับ-รายจ่าย  

อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ลูกหลานที่อาจนำพาความเดือดเนื้อร้อนใจมาให้ เป็นต้น​

สูตรคำนวณเงินที่ต้องมีในวันเกษียณ​​

การประมาณจำนวนเงินที่ต้องมีเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณนั้น แบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ 
1. การใช้เงินออมสำหรับใช้จ่าย
2. การใช้ดอกผลของเงินออมและเงินลงทุนสำหรับใช้จ่าย
หรืออาจใช้ทั้ง 2 แนวคิดผสมกันก็ได้

​​แนวคิดที่ 1:  นำเงินออมมาใช้จ่ายหลังเกษียณ

FCC_Retise_img3.png

​ยกตัวอย่างเช่น​ หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุ 80 ปี ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ          

=  25,000 บาท x 12 เดือน x 20 ปีหลังเกษียณ      

=  6,000,000 บาท​

กรณีนี้จะเป็นการใช้เงินต้นให้หมดไปเรื่อย ๆ

แนวคิดที่ 2:  นำดอกผลของเงินออมและเงินลงทุนมาใช้จ่ายหลังเกษียณ

FCC_Retise_img4.png

ยกตัวอย่างเช่น หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินออมและเงินลงทุนช่วงหลังเกษียณอยู่ที่ 6% ต่อปี  ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ  

=  (25,000 บาท x 12 เดือน) /6% ต่อปี   

=  5,000,000 บาท

กรณีนี้ เงินต้นจะยังคงอยู่ให้ออกดอกออกผลต่อไป

photo_2.6_retire2.jpg

​การออม การลงทุน เพื่อการเกษียณสุข

ควรออม ก่อนใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน โดยออมเงินสำหรับการเกษียณให้ได้อย่างน้อย 10% ของรายได้  หากรายได้เพิ่มขึ้นก็ควรออมเพิ่มขึ้น และไม่ควรนำออกมาใช้จนกว่าจะเกษียณ

ควรแบ่งเงินออมเพื่อเกษียณบางส่วนไปลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้​

การบริหารเงินหลังเกษียณ

เรามีข้อแนะนำสำหรับการบริหารเงินก้อนสุดท้ายของชีวิต  ดังนี้

ควรคงเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ประมาณ 2 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

นำเงินบางส่วนไปแบ่งฝากประจำในระยะต่าง ๆ  เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี  โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์

ควรนำเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ในระยะสั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะปานกลาง-ยาว​​ทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุน มีดังนี้​

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง เช่น สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่น่าลงทุนดังนี้

สถาบันจัดอันดับเครดิตนานาชาติสถาบันจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ
Moody’sS & PFitchTRISFi​tch (Thailand)
Baa3 ขึ้นไปBBB – ขึ้นไป BBB – ขึ้นไปBBB – ขึ้นไปBBB – (Tha) ขึ้นไป

​สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการลงทุนและยอมรับความเสี่ยงได้ ​​อาจแบ่งเงินบางส่วน (สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินออมและเงินลงทุนทั้งหมด) ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่เปิดโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น หุ้น และทองคำ เป็นต้น

คว​รติดตามข่าวสารและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินออมและเงินลงทุนของคุณอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ  
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงภัยทางการเงิน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อปกป้องเงินทองของตนเองที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาตลอดให้พ้นจากมิจฉาชีพด้วย

FCC_dow_160314.png 

ควรมีวินัยในการใช้จ่ายเพื่อให้มีเงินเพียงพอจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรกของการเกษียณ ยังไม่ควรใช้จ่ายเกินกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับ

ที่สำคัญ ต้องวางแผนมรดกด้วย เพื่อให้การส่งต่อทรัพย์สินสู่คนรุ่นถัดไปเป็นไปอย่างเรียบร้อยและตรงตามเจตนารมณ์ของคุณ  อย่าให้ทรัพย์สินกลายเป็นสาเหตุให้ลูกหลานต้องหมางใจกัน  โดยคุณต้องสำรวจและรวบรวมว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง แต่ละอย่างมูลค่าเท่าใด  คุณต้องการให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาทอย่างไร ต้องการยกทรัพย์สินใดให้ผู้ใด  นอกจากนี้  ต้องพยายามสะสางหนี้สิน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อ​กองมรดกที่ตั้งใจจะเก็บไว้ให้ลูกหลานด้วย​​

interest.pngเรื่องที่น่าสนใจ

FCC_Banner_finplan_160314.png
FCC_Banner_Stability_160314.png
FCC_Banner_Saving_160314_2.png

 

✨✨ฝากคนที่คุณรักไว้กับ ไอ เฮลท์ เนอร์ส แคร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ย่านศรีนครินทร์ ให้ดูแแทนนะคะ❤️
iHealth Nurse Care บริการด้วยใจ อบอุ่นเหมือนคนในครอบครัว ❤️

เปิดบริการทุกวัน 8.00-17.00 น.
Facebook: iHealth Nurse Care
Line: @ihealth-nurse-care
Email: info@ihealthnursecare.com, ihealthnursecare@gmail.com

📍พิกัด https://goo.gl/maps/tuYdgZFiPg3LQ9iN9

ไอเฮลท์เนอร์สแคร์ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ย่านศรีนครินทร์
ให้บริการด้วยใจดูแลคนที่คุณรักเหมือนคนในครอบครัว

หากสนใจสามารถนัดหมายเพื่อชมสถานที่ หรือ สอบถามรายละเอียดได้
ปรึกษาเจ้าหน้าที่ไม่มีค่าใช้จ่าย
ทางเรายินดีให้บริการค่ะ

  • 020-005392
  • 091-095-7680
  • 090-978-9613