เจ็บป่วยทางร่างกายหรืออยู่ในช่วงพักฟื้น นอกจากจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องของสภาพร่างกายแล้ว ยังควรได้รับการฟื้นฟูทางด้านจิตใจอีกด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักคิดมาก รู้สึกหมดหวัง เกิดความเครียด และอาจเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าจากอาการป่วยและการที่ตนเองไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเช่นปกติ อีกทั้งยังกลัวว่าตนเองจะเป็นภาระของลูกหลานทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและการต้องคอยมาดูแล จัดหาอาหาร จัดเตรียมยา ก็ยิ่งทำให้เกิดความเครียด อาการวิตกกังวล หดหู่ ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น
ดังนั้น นอกจากการดูแลด้านร่างกายแล้ว การให้กำลังใจผู้สูงอายุและช่วยให้ท่านคลายความเครียด ความวิตกกังวลจึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรละเลย
หลักการเสริมสร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุที่กำลังป่วย
ชักชวนพูดคุย
การพูดคุยถือเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานควรพึงปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ อาจเริ่มจากการไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ หรือสอบถามถึงเรื่องที่กำลังเป็นกังวลหรือไม่สบายใจเพื่อให้ท่านได้ระบายความรู้สึก นอกจากนี้ยังควรหมั่นสังเกตสีหน้าและแววตาของท่าน หากพบว่ามีความเครียดหรือความกังวลก็คอยซักถามและตั้งใจฟังเวลาที่ท่านพูด ตลอดจนคอยสร้างอารมณ์ขันก็จะช่วยให้ท่านผ่อนคลาย สบายใจ คลายความกังวล และมีกำลังใจ อีกทั้งเป็นการใช้เวลากับครอบครัวอีกด้วย
ให้ความสำคัญ
บทบาทและหน้าที่การงานที่เปลี่ยนแปลงไปมักส่งผลให้ผู้สูงอายุคิดว่าตนเองไม่มีความสำคัญ รู้สึกว่าตนไร้ค่า และเป็นภาระให้กับผู้ดูแลเนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มที่เหมือนเดิม ดังนั้น ลูกหลานหรือผู้ดูแลควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเองว่าตัวท่านก็เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัว ให้ความเคารพ ยกย่อง นับถือ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า หรืออาจชวนพูดคุย ขอความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ปรึกษาของบุคคลในครอบครัวได้
ให้ตัดสินใจ
การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ แม้ในเรื่องเล็กน้อยเช่นการเลือกร้านอาหารหรือการเลือกเสื้อผ้าที่จะสวมใส่จะทำให้ท่านรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและยังมีบทบาทในครอบครัว ยิ่งหากทุกคนเต็มใจและไม่โต้แย้งกับการตัดสินใจของผู้สูงอายุก็จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังคงเป็นที่รักและมีความสำคัญ รวมไปถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยหรือการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ก็ควรขอความคิดเห็นหรือให้ท่านเป็นคนตัดสินใจ หากจำเป็นต้องโต้แย้ง ควรใช้ถ้อยคำที่นิ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจ โดยชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียในสิ่งที่ท่านเลือก
ทำกิจกรรมทางสังคม
การมีกิจกรรมทางสังคมทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ไม่คิดมาก ซึมเศร้า หรือเหงาอยู่คนเดียว โดยอาจชวนผู้สูงอายุเข้าวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม หรือพาไปพบปะกับเพื่อนเก่าหรือผู้คนแปลกหน้าเพื่อให้ท่านได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หากผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก อาจชักชวนเพื่อน ญาติ หรือลูกหลานมาเยี่ยมเพื่อเป็นกำลังใจให้ท่าน ช่วยให้ท่านคลายความเครียด ทำให้อาการเบื่อหน่าย หงุดหงิดน้อยลง และมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี
การเสริมสร้างกำลังใจในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่สำคัญอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยไม่ให้ผู้สูงอายุเครียดหรือมีภาวะซึมเศร้าไปแล้ว ยังช่วยท่านคลายกังวล เห็นคุณค่าในตนเอง และมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ ตลอดจนช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานจากโรคนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
หากใครที่กำลังมองหาสถานดูแลผู้สูงอายุ สำหรับคนในครอบครัว สามารถปรึกษา ศูนย์ไอเฮลท์ เนอร์ส แคร์ เราสามารถตอบโจทย์สำหรับผู้สูงอายุ ให้บริการรับดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งครอบคลุมถึงบริการจัดอาหารตามหลักโภชนาการของผู้สูงอายุตามข้อจำกัดเป็นรายบุคคล ร่วมกับการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การออกกำลังกายและกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย พร้อมมอบการดูแลด้านจิตใจและอารมณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยรู้สึกเหงาหรือรู้สึกโดดเดี่ยวภายในสถานดูแลผู้สูงอายุที่ออกแบบและตกแต่งภายในเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
ศูนย์เราบริการดูแลผู้ป่วยพักฟื้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว สามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยจัดเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล เพื่อลดความกังวลของลูกหลาน โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ให้ผู้สูงวัยมีความสุขและปลอดภัยเสมือนอยู่บ้าน
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่เบอร์ 09-0978-9613
ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ไอเฮลท์ เนอร์ส แคร์ ยินดีให้บริการค่ะ